ทำไมควรใช้เกลือสีชมพูแทนเกลือทั่วไปในการปรุงอาหาร ?

2227 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เกลือชมพู

เกลือสีชมพู หิมาลัยหรือเกลือสีชมพู เป็นเกลือชนิดหนึ่งที่หาได้ตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถขุดเจอได้ในแทบเทือกเขาหิมาลัย  โดยเกลือหิมาลัยสีชมพูถูกขุดขึ้นมาด้วยมีวิธีการเหมือนกับเกลือสินเธาว์ แต่ด้วยความที่เป็นเกลือที่มีสีสันออกไปทางสีชมพูเนื่องด้วยสารอาหารแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีปะปนอยู่ในเกลือสีชมพูหิมาลัยมากกว่าเกลือทั่วไป ทำให้ถูกจัดเป็นส่วนผสมในการปรุงอาหารที่ดีต่อสุขภาพ


หากเรารับประทานเกลือทั่ว ๆ ไปในอาหารมากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้ ดังนั้นเกลือสีชมพูหิมาลัยจึงถูกนำมาใช้แทนเกลือแกงเนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะเกลือหิมาลัยสีชมพูมีปริมาณแร่ธาตุที่มากกว่าเมื่อเทียบกับเกลือแกงหรือเกลือทะเล มีโซเดียมคลอไรด์ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับเกลือทั่วไป ทำให้หลาย ๆ คนที่สนใจเรื่องของสุขภาพเป็นพิเศษมักจะเลือกใช้เกลือสีชมพูในการปรุงอาหารมากกว่า


เกลือสีชมพู หรือเกลือหิมาลัย คืออะไร ?


เกลือหิมาลัย หรือเกลือสีชมพู เป็นเกลือชนิดหนึ่งที่มาจากแถบประเทศปากีสถานในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งจะมีความแตกต่างจากเกลือทะเล ซึ่งจะมีสีชมพูตามชื่อเรียก เกลือชนิดนี้มีความน่าสนใจเพราะมีรายงานว่ามีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่าเกลือทะเล เกลือหิมาลัยสีชมพูที่ขุดได้จากเทือกเขาหิมาลัย เป็นเกลือสินเธาว์ที่เกิดจากการสะสมตัวของเกลือที่เกิดขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกของอินเดียชนกับแผ่นยูเรเชียน


เกลือหิมาลัยสามารถหาซื้อได้หลายรูปแบบ โดยทาง บริษัท สิงห์ชัย อุตสาหกรรม จำกัด ก็มีจำหน่ายเกลือหิมาลัย หรือเกลือสีชมพูทั้งแบบเม็ดละเอียด และเม็ดหยาบ เป็นเกลือหิมาลัยแท้ ที่ถูกจัดเป็นเกลือประเภทพิเศษกว่าเกลือแบบทั่ว ๆ ไป ซึ่งสีชมพูที่เราเห็นนั้นเป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติภายในผลึกเกลือ โดยมีรายงานว่าเกลือสีชมพูหิมาลัยมีแร่ธาตุมากกว่า 80 ชนิด ไม่ว่าจะเป็น โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ไอโอดีน เหล็ก สังกะสี และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะไม่มีในเกลือทะเลอย่างแน่นอน


ประโยชน์ของเกลือชมพูหิมาลัย

มีโพแทสเซียมในปริมาณที่เข้มข้นมาก 


กล่าวว่าเกลือสีชมพูหิมาลัยมีปริมาณโพแทสเซียมมากกว่าเกลือแกงถึงสามเท่า โพแทสเซียมช่วยให้ร่างกายรักษาระดับของเหลวภายนอกเซลล์ให้เป็นปกติ และยังมีความสำคัญต่อการควบคุมความดันโลหิตอีกด้วย

เกลือสีชมพูหิมาลัยมีธาตุเหล็กสูงกว่า


เกลือสีชมพูหิมาลัยมีธาตุเหล็กสูง ซึ่งมีปริมาณมากกว่าเกลือแกงถึงสามเท่า ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารสำคัญอีกประการหนึ่งเป็นตัวช่วยสำหรับสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เหลือดไหลเวียนในร่างกายอย่างเหมาะสม และทำให้ร่างกายมีความสดชื่นขึ้นหลายเท่า

เกลือสีชมพูหิมาลัยมีแมกนีเซียมสูง

เกลือสีชมพูหิมาลัยมีแมกนีเซียมมากกว่าเกลือแกงถึง 100 เท่า ซึ่งแมกนีเซียมสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อได้ ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้นักกีฬาหลายคนเติมเกลือสีชมพูหิมาลัยในการอาบน้ำ และใช้ปรุงอาหารต่าง ๆ เพื่อรับประทานก่อนออกกำลังกาย

มีไอโอดีน

เกลือสีชมพูหิมาลัยมีไอโอดีนเช่นเดียวกับเกลือทะเล สำหรับใครที่ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพออาจรบกวนการทำงานของฮอร์โมน และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้ เช่น น้ำหนักเพิ่ม ผมร่วง ผิวแห้ง รู้สึกหนาวตลอดเวลา ท้องผูก และเหนื่อยล้า

สามารถช่วยปรับปรุงปัญหาระบบทางเดินหายใจ

เกลือสีชมพูหิมาลัยสามารถช่วยในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด และคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ได้ เนื่องจากแร่ธาตุต่าง ๆ จะเข้าไปฟื้นฟูระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้น 

ดีต่อผิวของคุณ

นอกจากการปรุงอาหารด้วยเกลือทะเลหิมาลัยแล้ว ยังสามารถใช้เกลือชนิดนี้ในการเป็นสครับขัดผิวในการอาบน้ำได้อีกด้วย การทำสครับขัดผิวด้วยเกลือสีชมพู จะทำให้แร่ธาตุต่าง ๆ ซึมซับเข้าสู่ผิว และช่วยทำให้ผิวได้รับสารอาหารโดยตรง ทำให้สร้างผิวพรรณที่มีสุขภาพดีได้

ช่วยรักษาสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเมื่อใช้ในปริมาณที่พอเหมาะ


เกลือ ถ้าได้รับมากไปอาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากมีโซเดียมในปริมาณสูง แต่ในเกลือสีชมพูนั้นมีปริมาณโซเดียมที่ต่ำกว่าทำให้สามารถรับประทานได้มากกว่าเกลือปกติ ซึ่งโซเดียมก็มีบทบาทสำคัญในร่างกายแต่ต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ โซเดียมช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือด ควบคุมความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นเส้นประสาท และยังส่งเสริมการหลั่งฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะ


สรุป


ด้วยคุณประโยชน์ทั้งหมดนี้ เห็นได้ชัดเจนว่าเหตุใดเกลือสีชมพูหิมาลัยนั้นจึงดีต่อสุขภาพมากกว่า แต่ก็จะต้องรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมต่อวันเช่นกัน การนำเกลือสีชมพูไปใช้ในการปรุงอาหารนั้นดีต่อร่างกายอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามการเลือกซื้อเกลือสีชมพูจะต้องดูให้ดี ๆ ว่าเป็นเกลือที่ได้จากเทือกเขาหิมาลัยจริง ๆ หรือไม่ เพราะปัจจุบันมีคนทำเกลือธรรมดาให้กลายเป็นเกลือสีชมพู ทำให้ก่อนจะเลือกซื้อเกลือสีชมพูจะต้องแน่ใจว่าแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ?

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้